วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำคัทเวิร์ค

การทำคัทเวิร์ค
           การทำคัทเวิร์ค เป็นการปักริมผ้าที่สวยงามลายหนึ่ง ทำไม่ยากอย่างที่คิด หรือจะปักเป็นลวดลาย
บนผ้าก็สวย เริ่มจากจุดที่ 1 แทงเข็มขึ้นมา ดึงด้ายตวัดปลายเข็ม แทงเข็มลงที่จุด 2 ให้ขึ้นมาที่จุด 3 ดังในภาพ
ส่วนมากจะใช้ในงานฝีมือที่ปักริมผ้าสักกะหลาดให้ติดกัน
           การทำคัทเวิร์ค เป็นการปักริมผ้าที่สวยงามลายหนึ่ง ทำไม่ยากอย่างที่คิด หรือจะปักเป็นลวดลาย
บนผ้าก็สวย เริ่มจากจุดที่ 1 แทงเข็มขึ้นมา ดึงด้ายตวัดปลายเข็ม แทงเข็มลงที่จุด 2 ให้ขึ้นมาที่จุด 3 ดังในภาพ
ส่วนมากจะใช้ในงานฝีมือที่ปักริมผ้าสักกะหลาดให้ติดกัน

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอย

การสอย
            การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันได ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอย
หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอยค่ะ ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลย
                                                         

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การปักเดินเส้นลายโซ่

การปักเดินเส้นลายโซ่
             เริ่มเหมือนกับการปักที่ผ่านมานั่นแหละค่ะ ต่างกันอยู่ที่ เมื่อแทงเข็มขึ้นที่จุดที่ 1 แล้ว ดึงด้ายขึ้นมาให้หมด
จากนั้นแทงเข็มลงจุดที่ 2 ให้ตวัดด้ายอ้อมไปด้านบน แล้วจึงแทงเข็มขึ้นจากจุดที่ 2 ไปยังจุดที่ 3
โดยทีด้ายอ้อมเข็มอยู่ดังในภาพ จากนั้นดึงด้ายขึ้นมาให้หมด แล้วแทงเข็มจากจุดที่ 4 ไปยังจุดที่ 5
โดยมีด้ายตวัดอยู่ด้านบน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ฝีเข็มจะอ้อมซ้อนกันเหมือนโซ่ เป็นลายที่สวยงามลายหนึ่ง
                                                                   

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การปักเดินเส้นแบบเรียบ

การปักเดินเส้นแบบเรียบ
               เริ่มแทงเข็มขึ้นที่จุดที่ 1 ดึงด้ายขึ้นมาให้หมด แทงเข็มลงจุดที่ 2 ในขณะเดียวกันสอดปลายเข็มขึ้นที่จุดที่ 3
แล้วดึงด้ายผ่านตลอด ทำตามผังลายที่ให้ไว้ไปเรื่อยๆ จะได้เป็นการปักเดินเส้นอย่างหนึ่ง
                                                                

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง

การเดินเส้นแบบด้นถอยหลัง
           เริ่มด้วยการแทงเข็มขึ้นมาตรงจุดที่ 1 แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3
ในเวลาเดียวกันดึงด้ายขึ้นให้ตลอด จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5
ดึงด้ายผ่านตลอด  ทำซ้ำอย่างนี้ ตามในภาพ จะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะทำให้ตะเข็บสวย แข็งแรง
           ถ้าอยากให้เป็นเส้นตรง ควรขีดเส้นเตรียมไว้ตามต้องการ
                                                        

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

การเย็บผ้าด้วยมือ


วัสดุอุปกรณ์             1.ผ้าสี่เหลี่ยม กว้างยาวตามต้องการ
             2.เข็มเย็บผ้า ที่จับถนัดมือ
             3.ด้าย จะเป็นด้ายสำหรับเย็บจักร หรือจะเป็นด้ายปักก็ได้
             4.กรรไกร
การเนาผ้า
            จับผ้าด้วยมือซ้าย จับเข็ม (ที่มีด้ายร้อยอยู่แล้ว เส้นเดียว) มือขวา แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า
ฝีเข็มไม่ต้องห่างมากนัก ตามในภาพ แล้วดึงด้ายให้ผ่านไปทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ
            นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร หรือ เนาเพื่อเป็นแนวในการเย็บจักร
ตามเส้นแนวตะเข็บที่ต้องการ ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ
                                                                       

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการปักแบบต่าง ๆ

วิธีการปักแบบต่าง ๆ
ในกระบวนการปักทั้งของไทยและของต่างประเทศ มีวิธีที่เรียกชื่อต่าง ๆ กันเป็นจำนวนมาก และวิธีการปักเหล่านี้ใช้ในการปักลวดลายตกแต่งเสื้อผ้า ของใช้ที่ทำด้วยผ้านานาชนิดได้สวยงามแปลก ๆ ในต่างประเทศ แบบการปักจะเรียกชื่อตามชาติต้นคิด เช่น ปักสวีดิส ปักแมกซิกัน ปักสเปญ บางทีเรียกตามลักษณะของการปัก เช่น ปักปะ ปักรังดุม ปักจักร เป็นต้น การปักแต่ละอย่างก็ยังนำไปใช้ต่างกันอีกด้วย

ขนาดของเข็มที่จะใช้ปักผ้า

จะต้องเลือกให้ถูกกับเนื้อผ้า เช่น ผ้าเนื้อบาง ก็ควรใช้เข็มขนาดกลาง หากเนื้อผ้าหนาก็ใช้เข็มเล่มโต

การสนเข็ม

ไม่ใช่ของยากนัก แต่ก็ไม่ใช่ง่ายทีเดียว วิธีที่จะสนเข็มได้เร็ว ก็คือ สนจากปลายของด้ายด้านที่ตัดขาดใหม่ ๆ เพราะปลายเรียบไม่แตก ทั้งยังมีมันอยู่ทำให้สะดวกต่อการสนเข็ม ถ้ายังสนด้ายขัด ๆ อยู่ก็ใช้เทียนขี้ผึ้งรูดเข็มเล็กน้อยก่อนสนเข็ม

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ความสำคัญของงานปัก

ความสำคัญของงานปัก
การปัก เป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งของกุลสตรี เพราะเป็นการเสริมแต่งเครื่องแต่งกาย เช่น การปักเสื้อ กระโปรง ปลอกหมอนอิง หมอนหนุน ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่านหน้าต่าง และเครื่องใช้อื่น ๆ ตามความต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นคุณค่าของงานและความสวยงามยิ่งขึ้น
การปักในสมัยก่อนนั้นนิยมปักด้วยมือแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าเป็นงานฝีมือที่ต้องการความละเอียดเป็นพิเศษ ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมลายปักมากขึ้น การใช้มือผลิตผลออกมาได้ไม่ทันตามความต้องการ และค่าแรงสูงมาก จึงมีการปักด้วยเครื่องมือพิเศษ และปักด้วยจักรเพิ่มขึ้นอีก
แต่อย่างไรก็ดีการปักด้วยมือเราจะทิ้งไม่ได้ เพราะเป็นงานที่แสดงฝีมือจริง ๆ ปัจจุบันมีการส่งเสริมศิลปาชีพของชาวชนบทแทบทุกแห่ง โดยเฉพาะทางภาคเหนือ สตรีที่ว่างจากการทำไร่นา ก็จะพากันมารับจ้างปักผ้าบ้าง ถักบ้าง แต่คนเหล่านี้จะไม่ค่อยมีความรู้ว่าลายปักชนิดใดเหมาะที่จะปักอะไร หรือ จะวางลายปักอย่างไรจึงจะให้ดูงาม หรือใช้สีอะไรปักจึงจะทำให้น่าดู
การปักสมัยก่อนนิยมปักแต่สีขาว ผ้าที่นำมาปักก็เป็นสีขาว เพราะนิยมว่าสุภาพ ต่อมาความนิยมเหล่านั้นก็เปลี่ยนแปลงไปเป็น ใช้ด้ายและไหมสีต่าง ๆ ปักบนผ้าสีขาว ชมพู ครีม หรือสีที่มีพื้นสีอ่อน ๆ ส่วนผ้าที่มีสีพื้นหนัก ๆ หรือสีเข้ม การใช้สีของด้ายปักจะต้องคิดให้ดี จะใช้สีอะไรจึงจะงาม ส่วนผ้าที่พื้นสีอ่อน ๆ นั้นหาสีของด้ายปักได้ง่ายกว่าผ้าพื้นสีเข้ม ๆ
ปัจจุบันจะเห็นเสื้อผ้าของใช้ต่าง ๆ ของประเทศที่เอามาขายในบ้านเรา มีราคาสูงมาก ต่างกับราคาของบ้านเรา ฝีมือการปักก็พอ ๆ กัน จะเห็นว่างานอาชีพการปักของบ้านเราเวลานี้ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าต่างประเทศ ทั้งยังเป็นสินค้าที่ขายได้ดีมากแม้แต่ต่างประเทศก็นิยม สิ่งที่ควรคำนึงถึง เราควรใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ผ้า และไหม เราควรคำนึงคุณภาพของวัสดุ มากกว่าที่จะหาซื้อผ้าจากต่างประเทศได้ไม่น้อยทีเดียว

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

งานผีมือ

การปัก เป็นงานฝีมือแขนงหนึ่งที่ผู้ทำต้องมีสมาธิ มีความรักในงานนั้น และต้องเป็นผู้มีความละเอียดถี่ถ้วน งานจึงจะออกมาดูดี มีชีวิตชีวา จริงอยู่งานที่ปักต้องประกอบด้วยผ้า เข็ม ไหม ลาย การให้สี ทุกคนสามารถมีและทำได้ แต่ผลงานที่ออกมาจะแสดงให้รู้ว่าแต่ละบุคคลมีฝีมือ มีความรอบรู้ ความชำนาญแค่ไหน
การปักจึงประกอบด้วย ผ้า เข็ม ไหม ลาย นำมาปักตกแต่งให้มีความสัมพันธ์กัน โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ ผลงานนั้นจึงจะออกมาดีและสวยงาม

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

วันเด็กต่อ

คำขวัญวันเด็ก คำขวัญวันเด็ก เป็นคำขวัญที่นายกรัฐมนตรีมอบให้เด็กไทย เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติของทุกปี โดยคำขวัญวันเด็กมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2499 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจสำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ (ก่อนถึงวันเด็กแห่งชาติ) นายกรัฐมนตรีสมัยต่อม จึงได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คำขวัญวันเด็ก พ.ศ. 2554 โดยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ”
การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน เป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็ก โดยเปิดสถานที่ราชการ ที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆ ได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน
เพลง หน้าที่ของเด็ก
สำหรับเพลง "หน้าที่ของเด็ก" หรือเพลง "เด็กเอ๋ยเด็กดี" นี้ ประพันธ์คำร้องโดย ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ นักเขียน  นวนิยายชื่อดังคนหนึ่งของไทย ซึ่งท่านเป็นพี่สาวของครูอาจินต์ ปัญจพรรค์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534
ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติคนหนึ่ง ของกระทรวงศึกษาธิการ และขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนานแต่งทำนองให้ จากนั้น ก็ได้มีการนำเพลงนี้ไปเปิดทางสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ ในวันเด็กแห่งชาติทุกปี จนถึงทุกวันนี้
เนื้อเพลง
เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา                             สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์                 สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู                                 หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ               ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด                      เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ                        ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์              รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา                             จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดี                                          ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน (ซ้ำตั้งแต่ต้นอีกครั้ง)

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

วันเด็กแห่งชาติ

วันเด็กแห่งชาติ เป็นวันสำคัญในประเทศไทยตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี มีการให้ คำขวัญวันเด็ก ทุกปีโดยนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
ประวัติ งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
งานวันเด็กแห่งชาติจัดขึ้นทุกปีในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมจนถึง พ.ศ. 2506 และใน พ.ศ. 2507  ไม่สามารถจัดงานวันเด็กได้ทัน จึงได้เริ่มจัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2508 โดยเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้ 
จุดประสงค์ของการจัดงานวันเด็ก เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความ ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาพเด็ก

วันเด็กแห่งชาติ

 วันเด็กแห่งชาติ มีต้นกำเนิดมาจากการที่องค์การสหประชาชาติทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ โดยในปี พ.ศ. 2498 นายวี เอ็ม กุล ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิการเด็กระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญ และความต้องการของเด็ก รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ
         ทั้งนี้ การขานรับกับการจัดงานวันเด็กแห่งชาติได้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเองทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศ จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของตนขึ้น โดยได้มีการกำหนดว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

         สำหรับประเทศไทย ได้ตอบรับข้อเสนอของนายวี เอ็ม กุลกานี ซึ่งบอกผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติ รัฐบาลจึงได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ขึ้นมาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน กำหนดให้มีการฉลองวันเด็กแห่งชาติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จุดประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ภาพของขวัญ

ปีใหม่

คำอวยพรปีใหม่ไทย

  ขอลาที ปีเก่า แสนเศร้าโศก
ความอับโชค ที่มา กับราศี
อีกโพยภัย ไข้ทำ ประจำมี
ในชีวี จงสลาย มลายพลัน

สวัสดี ปีใหม่ ขอให้สุข
หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน
อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน
มีผิวพรรณ ผ่องนวล เย้ายวนชม

ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง

ถ้าผู้ใด ใจว่าง เรื่องทางรัก
ให้พบพักตร์ กันที อย่ามีหลง
หากอกหัก หนักไป ครวญใคร่ปลง
ขอท่านจง โชคดี ทั้งปีเทอญ

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

สสส. ชวน ครม. เคาท์ดาวน์ธรรม สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่หนุนเป็นวาระแห่งชาติ
      สสส.-สำนักพุทธฯ-หลายเครือข่าย จัด สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่เพื่อมงคลชีวิต เจ้าอาวาสวัดยานนาวา แนะคนไทยยึดพระธรรมคำสอน ช่วยบ้านเมืองหายบอบช้ำ เห็นควรเสนอเป็นวาระแห่งชาติ เตรียมถ่ายทอดสดเคาท์ดาวน์ธรรมจากวัดราชนัดดารามวรวิห
        โดยคืนวันที่ 31 ธ.ค. จะมีกิจกรรมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และถ่ายทอดสด จากวัดราชนัดดารามวรวิหาร ซึ่ง ถือเป็นปีแรกที่มีการอัญเชิญพระบรม
สารีริกธาตุ ที่เก็บรักษาไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาประดิษฐานในพระอุโบสถ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะในคืนข้ามปีใหม่ ก่อนที่จะมีพิธีอัญเชิญ
ไปบรรจุที่ยอด ภูเขาทองต่อไป
         กิจกรรมการสวดมนต์ข้ามปี ควรได้มีการจัดขึ้นที่วัดสถานปฏิบัติธรรมในทั่วโลก ทั้งนี้คำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง คือ ไม่ควรคิดถึงเรื่องอแต่อยู่กับ
ปัจจุบัน เอาความผิดพลาดในอดีต มาพิจารณาเพื่อแก้ไข
       ทั้งนี้ เยาวชนจากวิทยุ ไทยเพื่อเด็กและครอบครัว FM 105 ได้นำสมุดสวดมนต์ยักษ์ มอบให้ นายอภิสิทธิ์ ได้ร่วมเขียนอวยพรปีใหม่ให้กับคนไทย พร้อมเชิญ
ชวนให้คนไทยร่วมสวดมนต์ ในคืนข้ามปี จากนั้นคณะเยาวชนนำสวดบทพระพุทธคุณ 9 จบ ซึ่งได้รับความสนใจจากคณะรัฐมนตรี และสื่อมวลชนอย่างมาก
วัดใหญ่ชัยมงคล

สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่