วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก
ว่านชักมดลูกที่เรารู้จักกันมีอยู่ 2 ประเภท ซึ่งอาจแบ่งได้ตามสายพันธุ์ ดังนี้ คือ
ว่านชักมดลูก (ตัวผู้) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Curcuma Zanthorrhiza Roxb.
ว่านชักมดลูก (ตัวเมีย)  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Curcuma Comosa Roxb.
ว่านชักมดลูกทั้ง 2 สายพันธุ์นี้จะมีลักษณะ ภายนอกที่คล้ายคลึงกัน  แต่ส่วนใหญ่มักนิยมว่านชักมดลูกตัวผู้มาเข้าในตำรับยามากกว่าตัวเมีย  เพราะสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ซึ่งมีสรรพคุณในทางยามีมากกว่านั้นเอง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
จากผลการวิจัยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ทางยาของว่านชักมดลูกจากสถาบันต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องพบว่า  ใน ว่านชักมดลูกมีสารออกฤทธิ์ที่สามารถลดการอักเสบ ยับยั้งเนื้องอก  ยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมันลดปริมาณ ไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอลในเลือดที่มีปริมาณสูง  ยับยั้งเบาหวานและการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ลดการซึมผ่านของหลอดเลือด แก้ปวด รักษาแผล ปรับ อุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล ลดพฤติกรรมธรรมชาติของสัตว์ทดลอง  เพิ่มฤทธิ์บาร์บิตูเรต ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์เป็นพิษต่อเซลล์ ยับยั้งการเป็นพิษต่อตับ กระตุ้นการผลิต น้ำดี ลดเวลาการหลับของบาร์บิตูเรต ยับยั้งเอนไซม์ GPT, GOT, alkaline phosphatase, adenine nucleotide translocass (HIV)  ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์น้ำเหลือง เพิ่มน้ำหนักมดลูกและปริมาณไกลโคเจน มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนฆ่าแมลง และ ลดการสร้างเม็ดสีผิวได้  ซึ่งสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในทางยาที่มีอยู่ใน ว่านชักมดลูกจริง ๆ  แล้วมีมากมายหลายกลุ่มหนึ่งในนั้นก็คือ  เคอร์คิวมิน  เป็นสารที่สกัดได้จากขมิ้น ซึ่งให้ประโยชน์หลายประการ แต่ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องของกระเพาะอาหาร
ผลสรุปทางการวิจัย ยังพบอีกว่า ว่านชักมดลูกมีผลคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนที่มีในเพศหญิง  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเข้าใจก่อนว่าตัวของว่านชักมดลูกเอง ไม่ใช่ฮอร์โมน แต่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเท่านั้น  นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำดีและสามารถป้องกันมะเร็งในสัตว์ทดลองได้

1 ความคิดเห็น: